เรียงความปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



                                              วันนี้ปอล์มีเรียงความมาฝากพี่ๆเพื่อนน้องๆเรียกน้ำย่อยของการกลับมาเขียนบทความผ่านโลกออนไลน์

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพพัฒนาที่ยั่งยืน
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระมหากษัตริย์รัชการที่ ๙ ที่พระองค์ทรงพระราชทานมานานกว่า ๓o ปี เพื่อชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจและทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขและให้ยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆและยังมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนายกระดับโดยองค์การสหประชาชาติ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตไปสู่ ความสุข ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการปฏิบัติตนและการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานคือ ระดับครอบครัว ระดับชุมชนสังคม จนถึงระดับรัฐ ระดับประเทศ โดยเฉพาะเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่ทุกคน ทุกระดับ สามารถทำได้ เพียงแค่ใช้ชีวิตบนทางสายกลาง ซึ่งทางสายกลางในที่นี้คือ  ๑. ความพอ
ประมาณ ความพอดีในการต้องการสิ่งนั้นๆ ซึ่งไม่มากหรือน้อยจนเกินไป  ๒. ความมีเหตุผล การมีเหตุผลในการตัดสินใจ ตลอดจนการคำนึงถึงความจำเป็น และ ๓. มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเอง การที่คิดหรือจะทำอะไรจะต้องมีการวางแผนเตรียมตัวรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ภายในอนาคตทั้งใกล้และไกล และยังคงมีสองเงื่อนไขตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่จะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ตระหนักถึงความพอเพียงควบคู่ความดี คือ ๑. เงื่อนไขความรู้ หมายถึง การมีความรู้อย่างรอบด้าน มีความรอบคอบ เพื่อประกอบการวางแผนอย่างระมัดระวังในทุกๆด้าน ๒. เงื่อนไขคุณธรรม ซึ่งข้อนี้จะทำให้เราตระหนักในคุณธรรม ปฏิบัติตนอยู่บนความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่คดโกงและมีความอดทน มีสติปัญญาในการดำเนินชีวิต ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติ ในการดำเนินชีวิตไปสู่ความพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงมีการพัฒนาทั้งด้านวัตถุทางสังคม ทางด้านสิ่งแวดล้อมและทางด้านวัฒนธรรม โดยหลักการทั้งหมดเป็นการแก้ปัญหาความยากจนขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการใช้ชีวิตแบบพอกินไม่เดือดร้อนผู้อื่น ถ้าเราใช้หลักความพอเพียงเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในชีวิต เราก็จะรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแน่นอน
                เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขั้นตอนแรกเราควรมีความรู้เกี่ยวกับคำว่า พัฒนาที่ยั่งยืน นั่นคือเศรษฐกิจพอเพียงสิ่งแวดล้อมจะต้องปรับตัวเข้าหากัน จนทำให้เป็นภาวะที่ยั่งยืนในด้านต่างๆ โดยใช้มนุษย์เป็นผู้พัฒนาเพื่อให้เกิดความสมดุล  ระหว่างคน ธรรมชาติ และสรรพสิ่งในโลกใบนี้ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  การพัฒนาที่ผ่านมาจะเน้นเรื่องเศรษฐกิจเป็นสำคัญ มนุษย์เราเห็นความเจริญเป็นสำคัญโดยไม่คำนึงถึงธรรมชาติที่ถูกทำลาย ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ไม่สมดุล ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ผู้คนแก่งแย่งแข่งขันทรัพยากรธรรมชาติเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง จนเกิดการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน สาเหตุต้นๆของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนในความคิดของดิฉันคงจะเป็นเพราะ ความต้องการที่ไม่สมเหตุสมผล ฟุ่มเฟือยจนทำให้เปลืองทรัพยากร การที่บุคคลหวังผลประโยชน์ของตนเองจนไม่คำนึงถึงผลกระทบของส่วนรวม จะทำให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดส่งผลทำลายในหลายๆด้าน จนก่อให้เกิดการพัฒนาจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาโดยอาศัยกรอบความคิดของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้เชื่อมโยงกัน ซึ่งเรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนประกอบไปด้วย ๑๗ เป้าหมาย คือ ขจัดความยากจน บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ ส่งเสริมความเป็นอยู่ของทุกคนในทุกช่วงอายุ ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม มีความเสมอภาคทางเพศ และสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พัฒนาพื้นฐานพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง ลดความเหลื่อมล้ำทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย มีแบบแผนการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน ต่อสู้กับภูมิอากาศและผลกระทบ อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บูรณะระบบนิเวศทางบก ส่งเสริมให้สังคมสันติสุข และเสริมสร้างความเข้มแข็งในวิธีการปฏิบัติให้เกิดผล ซึ่งที่กล่าวมาคือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จุดหมายปลายทางของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สุดของความสำเร็จ คือเราสามารถนำความสมดุลเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บูรณาการทั้งหมดเข้าหากันได้สำเร็จ จนทำให้เกิดผลดีที่ตามมาอย่างยั่งยืน
                ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในความคิดของดิฉันก็คือต้องรู้ความหมายของหลักปรัชญาและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยนำทั้งสองหัวข้อมาประยุกต์ใช้โดยการเชื่อมโยงความหมายเข้าหากันและจะทำให้เกิดประโยชน์ไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ เช่น ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจคือการนำหลักการสายกลางมาดำเนิน คือ มีความรอบคอบ รอบรู้ ภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงและมีการเสียหายน้อย ส่งเสริมให้สังคมมีความสันติสุข คือการมีความซื่อสัตย์ สุจริต รู้จักแบ่งปัน พอมี
พอกินในแบบของตนเองไม่เดือดร้อนผู้อื่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบความสำเร็จ เพราะทั้งสองเรื่องก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือ มุ่งที่จะพัฒนาประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับประเทศ และเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศด้วย
                แนวคิดกับการใช้ในชีวิตจริง จากแนวคิดเป้าหมายที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในการดำเนินชีวิต ซึ่งตัวดิฉันเองก็เห็นความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนที่จะควบคู่ไปกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และฉันได้ผ่านการพัฒนาโดยนำมาใช้ในชีวิตจริงให้เกิดผลประโยชน์ตามเป้าหมาย คือตัวดิฉันเองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นเพียงนักเรียนในวัยเรียน ซึ่งวัยเรียนก็จะต้องมีการใช้เงิน ฐานะทางบ้านของดิฉันไม่ได้ร่ำรวย แต่ดิฉันถูกครอบครัวและสังคมเลี้ยงอบรมมาโดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่นย่าของฉัน จะปลูกผักบริเวณรั้วบ้าน โดยจะได้ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อผักเวลาทำกับข้าว แล้วยังเหลือผักที่สามารถนำไปขายได้อีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นการพออยู่พอกินในระดับหนึ่ง พ่อของฉันก็เลี้ยงสุกร และนำมูลของสุกรไปใส่ไร่มันบ้าง ไปขายบ้าง พ่อของฉันได้คิดวางแผน เพื่อให้ได้ประโยชน์จากสิ่งนั้นๆอย่างคุ้มค่า ส่วนตัวของดิฉันก็ถูกปลูกฝังให้รู้จักการใช้ชีวิตแบบประหยัดไม่ฟุ่มเฟือยมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งดิฉันเองชอบการอดออม และมักจะตัด สินใจในการซื้อของโดยการใช้เหตุผลว่าสิ่งที่ซื้อนั้นจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และหมู่บ้านของดิฉันยังปลูกฝังชาวบ้านโดยการนำเศษใบไม้มาหมักเพื่อให้ได้ไปปุ๋ยและแจกจ่ายให้ชาวบ้านไปใส่ในที่ทำไร่ ทำสวนของตัวเอง ซึ่งสิ่งพวกนี้ในความคิดของดิฉัน อาจไม่ใช่การพัฒนาทั้งประเทศ แต่ก็เป็นการขจัดความยากจนภายในครอบครัวและชุมชนได้ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการพัฒนาที่ดีจากระดับครอบครัว ชุมชน ที่ได้ปฏิบัติตนเป็นต้นแบบตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และยังส่งผลดีไปถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะถ้าเราถูกปลูกฝังสิ่งใด สิ่งนั้นจะติดตัวเราไปตลอด หากดิฉันโตมากกว่านี้ดิฉันจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในระดับสูงๆ เช่นไปเผยแผ่ให้น้องๆรุ่นหลัง ไปพัฒนาเพิ่มในชุมชน และยังคงใช้ชีวิตแบบพอเพียงให้เกิดการพัฒนายั่งยืนต่อไปอีกยาวนาน
                จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ดิฉันเห็นถึงความสำคัญของประเทศชาติ หากเราทุกคนเป็นบุคคลหนึ่งที่ทำตามหลักปรัชญาและเป้าหมายการพัฒนา ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ประเทศไม่เดือดร้อน มีแต่ความสงบสุขทั้งเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ รัฐบาลได้สร้างรากฐานของชุมชนให้เข้มแข็งด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง และองค์การสหประชาชาติยังคงต่อยอดความสำเร็จยิ่งๆขึ้นไป เมื่อชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ประเทศชาติก็เกิดความมั่นคง นั่นคือสิ่งที่จะแสดงให้เห็นว่า ประเทศชาติของเราเป็นประเทศที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง เรียบเรียงโดย นางสาวภาวิณี คงร้อย
                     เรียงความฉบับนี้มีลิขสิทธิ์กรุณาห้ามลอกเลียนเเบบ
สนใจจ้างงานติดต่อได้ที่
                 
FB. โอปอ 'ล์
Line : pozii61
mail: pawinee3303@gmail.com
Tel : 0947372981 ,0616486582

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวิจารณ์หนังสือ ปุลากง

รับจ้างเขียนเรียงความ บทความ พิมพ์งาน